element

ประวัติความเป็นมา

พ.ศ.2554

ด้วยดำริของ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ คชสิทธิ์ อธิการบดี ที่สนับสนุนให้มีการจัดการเรียนการสอนด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนจึงมอบหมายให้ ผศ.ดร.ปัณณ์รภัส ถกลภักดี ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ซึ่งผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2554 ผศ.อารีย์ สงวนชื่อ เป็นประธานหลักสูตร ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ.2554 มหาวิทยาลัยเชิญ ศ.ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ อดีตคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปฏิบัติงานเพื่อเตรียมการตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ และในปี พ.ศ.2557 เปิดรับนักศึกษาอีกสองสาขาวิชา คือ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และสาขาวิชาการจัดการสถานพยาบาล

พ.ศ.2559

ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2559 วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2559 สภามหาวิทยาลัยมีมติให้ดำเนินการเป็นโครงการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ และมอบหมายให้คณะกรรมการดังกล่าวฯ เสนอผลการดำเนินงานให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาเป็นระยะทุกเดือนของการประชุม การดำเนินงานได้รับการสนับสนุนจาก ผศ.รท.หญิงวิภาวี เกียรติศิริ รองอธิการบดี รศ.ดร.อิสระ สุวรรณบล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภามหาวิทยาลัย และรศ.ดร.เฉลิมพล ตันสกุล เป็นอย่างดียิ่ง

พ.ศ.2560

นการประชุมครั้งที่ 4/2560 วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2560 สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ขึ้นเป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ศ.ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ ดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์

คณะสาธารณสุขศาสตร์พัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ โดยได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 11/2560 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560

พ.ศ.2561

สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์อารีย์ สงวนชื่อ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ วันที่ 5 เมษายน 2561

คณะสาธารณสุขศาสตร์พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและความงาม โดยได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 11/2561 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561

พ.ศ.2563

คณะสาธารณสุขศาสตร์ได้ขออนุมัติสภามหาวิทยาลัย จัดตั้งวไลยอลงกรณ์คลินิกเวชกรรม เพื่อเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่ได้มาตรฐานในมหาวิทยาลัย และเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพให้มีความสามารถในการจัดบริการด้านสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบการจัดตั้งวไลยอลงกรณ์คลินิกเวชกรรม โดยผ่านการตรวจประเมินคลินิกตามเกณฑ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี และผ่านการลงนามความร่วมมือกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิของสำนักงานหลักประกันสุขภาพโดยมีกลุ่มบริการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยจำนวน 25,000 คน โดยเปิดดำเนินการวไลยอลงกรณ์คลินิกเวชกรรม ณ ชั้น 1 อาคารพยาบาล เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563

จัดตั้งคลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษา หรือบรรเทาอาการต่างๆที่มุ่งเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพ รักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่มีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งสนับสนุนการวิจัย สำหรับอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร รวมทั้งการให้ข้อมูลงานบริการวิชาการและงานบริการสุขภาพให้กับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไปภายนอกมหาวิทยาลัย

จัดตั้งหน่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นหน่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค และระดับบริหาร เพื่อดำเนินการจัดฝึกอบรม หรือเพื่อจัดฝึกอบรม ให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ

พ.ศ.2564

สภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี อนุมัติให้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564 ในการประชุม ครั้งที่ 4 / 2564 เมื่อวันที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ. 2564 (หลักสูตรผ่านสภาวิชาการมหาวิทยาลัย ในการประชุมสภาวิชาการ ครั้งที่ 2/2563 วันที่ 2 กรกฎาคม 2563)

ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 4/2564 มีมติพิจารณาประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2564 ให้แบ่งส่วนราชการคณะสาธารณสุขศาสตร์เพิ่มข้อ 4 งานเวชคลินิกและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยมีหน่วยงานย่อย คือ วไลยอลงกรณ์คลินิกเวชกรรม, คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ หน่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

ได้รับการรับรองหลักสูตรระยะสั้น 2 หลักสูตร จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) คือ หลักสูตรผู้ดำเนินการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง 130 ชั่วโมง และหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง

พ.ศ.2565

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารีย์ สงวนชื่อ ได้หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในวันที่ 5 เมษายน 2565 สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัณณ์รภัส ถกลภักดี ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 6/2565 วันที่ 2 มิถุนายน 2565

พ.ศ.2566

สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศพร ชูศักดิ์ ในการประชุมครั้งที่ 5/2566 วันที่ 5 เมษายน 2566

Pic
element
element

ต้นไม้ประจำคณะ ต้นราชพฤกษ์

ต้นราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Cassia fistula Linn และมีชื่ออื่นๆ หลายชื่อ เช่น คูณ ลมแล้ง
กุเพยะ (ภาษากะเหรี่ยงกาญจนบุรี) ต้นราชพฤกษ์ สื่อความหมายถึงชาวสาธารณสุข ที่รุกเข้าไปในถิ่นธุรกันดาร ทั่วทุกหัวระแหงของประเทศ เพื่อปฏิบัติภารกิจสาธารณสุขตามรอยพระบาท “พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย”

สีประจำคณะ Salmon Pink

รหัสสี #F39566 RGB = R243,G149,B102 CMYK = C1-M50-Y63-K0

element
element
element
element

ทำเนียบผู้บริหาร